บทบาทและการส่งเสริมพัฒนางานด้านเคมี ของ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประชุมวิชาการ

การประชุมวิชาการนานาชาติ I-KUSTARS

การประชุมวิชาการนานาชาติ I-KUSTARS มีชื่อเต็มว่า International Kasetsart University Science and Technology Annual Research Symposium (I-KUSTARS) เป็นการประชุมวิชาการประจำปีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งการนำเสนอมีทั้งรูปแบบโปสเตอร์และรูปแบบบรรยาย[96][97]

การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ChPGS

การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาภาควิชาเคมี หรือ The Chemistry Postgraduate Symposium (ChPGS) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การนำเสนอภาคโปสเตอร์ (Poster presentation) และการนำเสนอภาคบรรยาย (Oral presentation)[98]

การประชุมวิชาการ Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON)ประชุมวิชาการนานาชาติ PACCON 2008

งานประชุมวิชาการ Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON) เป็นงานประชุมฯ ของนักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีแขนงต่าง ๆ ชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยความร่วมมือระหว่างสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ กับภาควิชาเคมีในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดขึ้นเพื่อให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยทางด้านเคมีและเคมีประยุกต์ที่มีต่อมวลมนุษยชาติในด้านต่าง ๆ และในงานประชุมฯ แต่ละครั้งจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้รับเชิญให้มานำเสนอการบรรยายเต็มรูปแบบรวมทั้งปราศรัยภายในงาน เช่น นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการฯ ร่วมกับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ในการประชุมวิชาการนานาชาติ PACCON 2008 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[99] ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 50 พรรษา ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ซึ่งในปีดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Chemistry for Sufficiency and Sustainability” ณ โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย (Sofitel Centara Grand Bangkok, Thailand)[100]

โดยในงานประชุมฯ ดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปาฐกถาพิเศษ (Keynote Lecture) ในหัวข้อ "Thai Bioresource: A Gold Mine for Bioactive Natural Products" และมีการเชิญนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาร่วมนำเสนอและบรรยาย โดยแบ่งเป็น Plenary Lectures จำนวน 5 ท่าน และ Invited Lectures จำนวน 31 ท่าน จากทั้งหมด 13 ประเทศ[101][102]

นอกจากนี้ ในงานประชุมฯ ดังกล่าวยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยเต็มรูปแบบ ทั้งแบบปากเปล่า (Oral Presentation)[103] และแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)[104] ด้วย ซึ่งนำเสนอในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • Analytical Chemistry
  • Biological / Biophysical Chemistry and Chemical Biology
  • Bioinformatics and Cheminformatics
  • Chemical Education
  • Cosmetics
  • Environmental Chemistry
  • Food Safety
  • Industrial Chemistry and Innovation
  • Inorganic Chemistry
  • Material Science and Nanotechnology
  • Organic Chemistry and Medicinal Chemistry
  • Petroleum Chemistry and Catalysis
  • Physical and Theoretical Chemistry
  • Polymer Chemistry

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์และหัวข้อปาถกฐา[105][106]

No.CountryKeynote/Plenary LectureTopicDate
     1.   ไทย Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn “Thai Bioresource: A Gold Mine for Bioactive Natural Products” January 30, 2008
     2.  ญี่ปุ่น Prof. Dr. Minoru Isobe
Nagoya University
Synthetic Studies on Ciguatoxin Causing Ciguatera Poisoning January 30, 2008
     3.   ออสเตรีย Prof. Dr. Peter Wolschann
University of Vienna
“Hydrogen Bonding - a Challenge for Theoretical Chemistry” January 30, 2008
     4.   เกาหลีใต้ Prof. Dr. Jun‐Il Jin
Korea University
“Material Science Based on Natural and Modified DNAs-Magnetic Properties” January 31, 2008
     5.   ไทย Prof. Dr. Apichart Suksamrarn
Ramkamhang University
“Microbial Transformations in Regioselective and Stereoselective Synthesis of Some Natural Products and Analogues” January 31, 2008
     6.   สหรัฐ Prof. Dr. David W.M. Marr
Colorado School of Mines
“Field-Based Colloidal Manipulation for Microtechnology” February 1, 2008
เสวนาพิเศษโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล

ในปี พ.ศ. 2561 ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเสวนา Chem-KU Colloquium 2018 และได้เชิญ Professor Robert H. Grubbs นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2005 มาเป็นผู้เสวนาหลัก ณ ห้อง 341 อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร[107][108]

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและหัวข้อเสวนา

No.ImageKeynote speakerTopicDate
     1.  Professor Robert H. Grubbs
A co-recipient of the Nobel Prize in Chemistry (2005)
Translation From Lab to Startup Company Dialogue with Nobel Laureate September 14, 2018

โอลิมปิกวิชาการ

โอลิมปิกวิชาการเคมี

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ สอวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นศูนย์ระดับภูมิภาค[109][110] ภาควิชาเคมีมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนในเขตพื้นที่เพื่อเข้าค่ายอบรมในสาขาวิชาเคมีตลอดจนคัดเลือกตัวแทนศูนย์สอวน. มก. สาขาเคมี เพื่อเข้าแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติต่อไป[111][112][113]

ทั้งนี้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติถึง 2 ครั้ง ซึ่งในปี พ.ศ. 2542 ได้รับหน้าที่ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ ครั้งที่ 31 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในการทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกในระดับนานาชาติ โดยการแข่งขันครั้งดังกล่าวถูกจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[114][115][116][117] และในปี พ.ศ. 2558 ได้รับเกียรติอีกครั้งให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[118][119]

สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกวิชาการ
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ (International Chemistry Olympiad : IChO)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
31st IChO2542กรุงเทพมหานคร ไทย18–21 กรกฎาคม[120]52 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สสวท. และมูลนิธิสอวน.
*เจ้าภาพสาขาเคมีระดับนานาชาติครั้งแรกของไทย
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Chemistry Olympiad : TChO)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
11th TChO2558กรุงเทพมหานคร ไทย1-5 มิถุนายน[121][122]102 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สสวท. และมูลนิธิสอวน.

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://maps.google.com/maps?ll=13.8454802,100.5714... http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailconten... http://ptg.listedcompany.com/misc/PRESN/20180425-p... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.8454... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://chemistryolympiad.weebly.com/uploads/8/2/4/... http://www.globalguide.org?lat=13.8454802&long=100... http://ku-alumni.org/download/student.pdf